-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
นครศรีธรรมราช ชู เข้าพรรษาแนวใหม่ "มานคร นอนวัด" ตั้งแคมป์ ตักบาตร เวียนเทียน มินิคอนเสิร์ต กิจกรรมครอบครัว ศิลปะปลอดเหล้า หวังลูกชวน พ่อ แม่ ลด ละ เลิก สร้างรายได้ให้ชุมชน
ที่วัดโสภณตีธาราม (วัดเราะ) อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน ร่วมกับ เครือข่าย Alcohol watch วัดโสภณตีธาราม (วัดเราะ) ผู้ประกอบการคาเฟ่แคมป์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิชาพัฒนาชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฎ จ.สุราษฎร์ธานี ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ ร่วมกันจัดกิจกรรม เข้าพรรษา "มานคร นอนวัด" ชวนตักบาตรหัวษา เที่ยวท่าหลาแคมป์วัดเราะ ภายในงานมีการตั้งแคมป์ แสดงดนตรี และเสวนาในหัวข้อ "เข้าพรรษากับการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย สร้างรายได้ให้ชุมชน...เป็นจริงได้อย่างไร" ทั้งนี้มีการจัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 13-15 กรกฎาคม 2565 และในเช้าวันที่ 15 มีกิจกรรม "ตักบาตรหัวษา (ต้นเข้าพรรษา)" ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน
นายองอาจ พรหมมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน กล่าวว่า ทางเรามีแนวคิดในการเชิญชวนคนลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วิถีใหม่ แล้วได้มาเห็นรูปแบบการจัดกิจกรรมของผู้ประกอบการในพื้นที่บ้านวัดเราะที่มีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบของการตั้งแคมป์ ปลอดเหล้า ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเราพอดี จึงมีการหารือและร่วมมือกันใช้ประเพณีเข้าพรรษาเป็นจุดเริ่มต้นการทำกิจกรรมมานครนอนวัด โดยเชิญเครือข่ายนักศึกษา มหาวิทยาลัย หน่วยงาน และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม กิจกรรมภายในงานจะมี 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ 1. กิจกรรมทางศาสนา คือ เวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชา ฟังเทศน์ ตื่นเช้ามาก็ตักบาตร 2. กางเต็นท์ และมีกางเต็นท์นอน มีลานกิจกรรมของครอบครัวต่างๆ และ 3. การแสดงบนเวทีที่มีทั้งศิลปะพื้นบ้าน เช่น มโนราห์ คนตรีสมัยใหม่ โดยศิลปิน 3 กลุ่มคือ ศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินที่แสดงในร้านผับบาร์ในพื้นที่ และศิลปินจากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
"เชื่อว่ากิจกรรมนี้จะช่วยดึงวัยรุ่นให้หันมาเข้าวัดมากขึ้น โดยมีการตั้งแคมป์ ที่กำลังได้รับความนิยม และดนตรีเป็นสิ่งดึงดูด กิจกรรมภายในงานก็แฝงกิจกรรมชวนเลิกเหล้า ตามทฤษฎี Nudge (สะกิด) เชื่อว่าจะทำให้เกิดการพฤติกรรมลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยไม่รู้สึกฝืน โดยเฉพาะเราเชื่อว่า เมื่อเข้ามาร่วมกันเป็นครอบครัว ซึ่งมีลูกๆ อยู่ด้วยนั้น จากการศึกษาของเราพบว่าหากลูกชวนพ่อแม่เลิกเหล้า จะทำให้เกิดผลสำเร็จมาก ดังนั้น จึงตั้งเป้าว่าใน 50 ครอบครัวที่มาร่วมกิจกรรมนั้น น่าจะมีสัก 80% ที่สามารถงดเหล้าได้ในช่วง 3 เดือน และจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาวด้วย ซึ่งทางเราเตรียมต่อยอดรูปแบบดังกล่าวไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั้งจังหวัดและทั่วประเทศต่อไป เช่น กิจกรรมตั้งแคมป์ วิ่งงดเหล้า" นานองอาจ กล่าว
ด้าน นายณัฐพล จะสูงเนิน ผู้จัดงาน มานคร นอนวัด และกลุ่มแคมป์วัดเราะ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ตนและเพื่อน ร่วมกันทำคาเฟ่แคมป์ ที่ใช้การขายกาแฟเป็นตัวดึงดูดลูกค้า ต่อมาในระยะหลังได้พยายามฟื้นหลักการ "บวร" เพื่อทำให้พื้นที่ชุมชนของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัย เริ่มใช้ลานวัด และขยายไปพื้นที่โดยรอบวัดให้ปลอดเหล้า-บุหรี่ ซึ่งในระยะแรกๆ อาจจะมีคนในพื้นที่ตั้งข้อสงสัยว่าสามารถทำเช่นนี้ได้จริงหรือไม่ สุดท้ายก็ยอมรับ เพราะเห็นแล้วว่า 1 ปีกว่า ๆ ได้ผลจริง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ ๆ วัดลดลง แทบจะเป็นศูนย์ แม้กระทั่งตามชายหาดที่เราเริ่มมีการจัดโซนนั้น ทำให้มีการดื่มแบบสะเปะสะปะลดลง ขโมยลดลง ชาวบ้านกล้าอุ้มลูกจูงหลานออกมาทำกิจกรรมมากขึ้น จึงคิดว่าควรชูการทำงานแบบ "บวร" เข้าไปทุกกิจกรรม
โดยล่าสุดได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สถานศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ จัดกิจกรรมเข้าพรรษาแนวใหม่โดยการชวนประชาชน เยาวชน มาตั้งแคมป์ทำกิจกรรมเวียนเทียน ตักบาตร ชมศิลปวัฒนธรรม หรือมานคร นอนวัด แคมปิ้งงดเหล้า
"ตอนเรามาใหม่ ๆ หน้าวัดเป็นเหมือนแลนด์มาร์กของคนกินดื่ม เพราะบรรยากาศดี คนคิดว่ากินได้ กินแล้วทิ้งขวดเกลื่อน เศษแก้วเต็มไปหมด เราพยายามติดป้ายรณรงค์ ประกาศผ่านเครื่องเสียง พ่อค้าแม่ค้าร่วมกันเตือนปากต่อปาก ตอนนี้ที่นี่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แทบจะเป็นศูนย์แล้ว ถ้าผมเปิดคาเฟ่แคมป์ มีดนตรี ทุกคนจะรู้เลยว่าปลอดเหล้าเบียร์แล้ว พ่อค้าแม่ค้าก็จะร่วมด้วย ไม่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงบุหรี่ ผมอยากขยายพื้นที่ จัดโซนที่ชายหาดให้ชัดเจน ทำให้พื้นที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัวเรา ลูกหลานเรา ที่สำคัญการทะเลาะวิวาทส่งเสียงดังก็จะหายไปด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้" นายณัฐพล กล่าว
ด้าน พระปลัดจักกฤษ นาถกโร เจ้าคณะตำบลสระแก้ว เจ้าอาวาสวัดโสภณตีธาราม (วัดเราะ) กล่าวว่า ทางวัด มีการเปิดพื้นที่บางส่วนเป็นตลาดชุมชนบริการและจูงใจนักท่องเที่ยว ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมพึ่งพาอาศัย บ้าน วัด โรงเรียน และเป็นการสร้างอาชีพให้คนในชุมชน โดยให้แม่ค้าเป็นคนบริหารจัดการพื้นที่กันเอง อาทิ ชนิดของสินค้า การจัดการขยะ มีการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างวัดกับชุมชน โดยเป็นการสร้างคุณค่าให้พื้นที่ แต่ไม่ได้เอาพื้นที่ไปสร้างมูลค่า ทางวัดอยากจัดรูปแบบการจัดงานวัดที่เป็นรูปแบบใหม่ จัดงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน เข้ากับยุคสมัย มีดนตรีได้แต่ต้องเป็นรูปแบบที่คนเข้าถึงได้ง่าย ส่วนในวันสำคัญทางศาสนา วัดมีการปฏิบัติในส่วนของศาสนกิจตามปกติ แต่จะเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ปฏิบัติตามระเบียบสงฆ์ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ห้ามขาย ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัด และเพื่อสร้างให้วัดเป็นพื้นที่ปลอดเหล้า ทำให้พื้นที่มีความปลอดภัย ครอบครัวพาลูกหรือผู้สูงอายุมาเที่ยวโดยสบายใจ"
นายสุริยันต์ ถึงแสง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยมีการทำงานเรื่องโซนนิ่งร้านเหล้ารอบสถานศึกษาอยู่ตลอด ทั้งรณรงค์ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการร้านเหล้าให้ปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 และ คำสั่ง คสช.ที่22/2558 ที่ว่าด้วยการควบคุมร้านเหล้าใกล้เคียงสถานศึกษา
"การจัดงาน มานครนอนวัด ในครั้งนี้เป็นงานที่ดีมาก เพราะเป็นการสร้างพื้นที่ทดแทนแหล่งอบายมุขรอบมหาวิทยาลัย ที่มีร้านเหล้า ผับ บาร์ อยู่จำนวนมาก และพื้นที่หาดวัดเราะอยู่ไม่ไกลกับมหาวิทยาลัยมากนัก ทำให้มีนักศึกษามาเที่ยวเป็นจำนวนมาก การจัดงานในลักษณะนี้โดยมีนักดนตรีที่เป็นที่นิยมให้หมู่วัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ อีกทั้งไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย จึงเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป เป็นกิจกรรมเชิงบวกที่ควรจัดขึ้นให้ต่อเนื่องและต้องขอบคุณ ทาง สสส. ที่สนับสนุนกิจกรรมดีๆ แบบนี้เสมอมา" นายสุริยันต์ กล่าว
https://www.thaihealth.or.th/Content/56348
ขอบคุณภาพจาก Krisana Dumthong
19 ก.ค. 65 / อ่าน 1771
18 ก.ค. 65 / อ่าน 1506
17 ก.ค. 65 / อ่าน 1386
15 ก.ค. 65 / อ่าน 1435
14 ก.ค. 65 / อ่าน 945
14 ก.ค. 65 / อ่าน 827