-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
โฆษกศาลยุติธรรมเตือนวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ขับรถเมาไม่ขับปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครั หากเมาขับต้องขึ้นศาล โทษหนัก-เบาตามพฤติการณ์
เมื่อวันที่ 10 เมษายน นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวแสดงความห่วงใยและย้ำเตือนการระมัดระวังอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับช่วงเดินทางเทศกาลวันหยุดยาวสงกรานต์ ว่า ช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลแต่ละปีมักจะมีข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุการเมาแล้วขับ โดยเมื่อพบการกระทำผิดกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ก็จะส่งฟ้องเป็นคดีสู่ศาลตามพื้นที่เกิดเหตุ สถิติคดีในอดีตก็มักจะพบว่าการดำเนินคดีข้อหาเมาแล้วขับช่วงเทศกาลมีจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆ
ทั้งนี้ ในปี 2565 ช่วงเทศกาลวันหยุดยาวสงกรานต์ปรากฏตามข่าวพี่น้องประชาชนเริ่มทยอยเดินทางออกต่างจังหวัดแล้วตั้งแต่ช่วงเสาร์-อาทิตย์ดังนั้นขอให้ผู้เดินทางต้องขับขี่รถเดินทางด้วยความปลอดภัย และระมัดระวังอย่างยิ่งในการที่จะปฏิบัติตามกฎจราจร ไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เสพยาเสพติดขณะขับขี่ สวมหมวกกันน็อคขณะขี่รถ เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ขับขี่ ผู้ที่ร่วมเดินทาง และประชาชนทั่วไปผู้ใช้เส้นทางสัญจรบนท้องถนน อีกทั้งลดความเสี่ยงการสูญเสียต่างๆ จากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดตามมาได้ และลดอัตราถูกดำเนินคดีส่งฟ้องด้วย
สำหรับ การรณรงค์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประชาสัมพันธ์มาตรการบังคับใช้กฎหมาย "เมาแล้วขับ จับขังจริง" แก่ผู้กระทำผิดกรณีเมาแล้วขับในช่วงวันที่ 11-17 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงควบคุมเข้ม 7 วันระวังอันตราย โดยนำร่องพื้นที่เขตอำนาจศาลภาค 6 (จังหวัดภาคกลางตอนบนและภาคเหนือ) เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ขับขี่และลดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับ หากพบว่ามีการกระทำผิดกฎหมายจะต้องถูกส่งตัวฟ้องศาล ซึ่งศาลจะพิจารณาพิพากษาลงโทษตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน โดยโทษนั้นมีความแตกต่างกันตามพฤติการณ์ของแต่ละคนที่ได้กระทำจริง ความหนัก-เบาจะขังจริงหรือไม่เป็นดุลยพินิจที่ศาลจะพิจารณาจากคำให้การ ประกอบพยานหลักฐาน
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกำหนดโทษอัตราใด เช่น จำคุก รอลงอาญา การสั่งคุมประพฤติ เพื่อลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุ และการสูญเสียจากพฤติกรรมดื่มแล้วขับโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเทศกาลวันหยุดยาว จึงฝากให้พี่น้องประชาชนทุกคนตระหนักถึงการขับขี่ปลอดภัย ปฏิบัติตามกฎจราจร และ ใส่ใจผู้ร่วมใช้เส้นทางจราจรด้วย
สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก ระบุข้อมูลถึงอัตราโทษของการเมาแล้วขับไว้ดังนี้
กรณีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
กรณีปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
การปฏิเสธเป่า
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บ”
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บสาหัส”
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “ถึงแก่ความตาย”
https://www.posttoday.com/social/general/680407
https://www.thansettakij.com/general-news/520891
17 ก.ค. 65 / อ่าน 957
15 ก.ค. 65 / อ่าน 910
14 ก.ค. 65 / อ่าน 1035
12 ก.ค. 65 / อ่าน 945
12 ก.ค. 65 / อ่าน 687
12 ก.ค. 65 / อ่าน 576