-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
งานวิจัยครั้งใหม่แนะนำว่าการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (TMS) ซ้ำๆ และนานๆ ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลในการช่วยบำบัดและอาการติดสุราและช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองได้จริง
โดยในการทดลองบำบัดแบบสุ่ม การบำบัดแบบปกปิดกระบวนการ และการบำบัดหลอก พบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองที่ได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้าไปยังเปลือกสมองส่วนหน้าและสมองส่วนที่อยู่ลึกลงไปในกลีบหน้าผากเป็นระยะเวลานาน 3 สัปดาห์ สามารถลดจำนวนวันที่ดื่มหนักลงได้อย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการบำบัดแบบหลอก ส่วนกลุ่มที่ได้รับการบำบัดจริง มีการรายงานว่าพวกเขามีความอยากดื่มแอลกอฮอล์ลดลดอย่างมีนัยยะสำคัญและแสดงให้เห็นการทำงานที่น้อยลงในพื้นที่สมองส่วนที่กระตุ้นให้เกิดความอยากดื่มและทำให้อาการกำเริบ จากการตรวจด้วยเครื่องมือ MRI
ทั้งนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญควรทำการทดลองในระยะที่สองด้วย โดย นายแพทย์ มาร์คัว ฮีลลิก ศาสตราจารย์สาขาจิตเวชศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์เพื่อสังคมและผลกระทบต่อจิตประสาท แผนกชีวภาพการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก มหาวิทยาลัยลินเชอปิง ประเทศสวีเดน ได้กล่าวว่า
“ถ้าหากมีการทดลองซ้ำเป็นระยะที่ 3 ในการศึกษานี้ เราน่าจะได้แนวทางการรักษาใหม่อย่างสมบูรณ์ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกับโรคที่มีความยากในการดูแลและเป็นโรคที่สร้างผลกระทบค่อนข้างมาก” คุณหมอฮีลลิกกล่าว (ข้อค้นพบเหล่านี้ได้ถูกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาทางจิตเวช)
การพิสูจน์แนวคิด
ในการทดลองเพื่อพิสูจน์แนวคิดดังกล่าว นักวิจัยจะต้องบันทึกและกำหนดการรักษาอย่างสุ่มจำนวน 51 ครั้ง โดยต้องหาผู้เข้าร่วมวัยผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมใช้แอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง เพื่อเข้ารับการบำบัดแบบหลอก โดยก่อนการรักษาผู้เข้าร่วมจะต้องถูก “กระตุ้นให้เกิดความอยาก” ซึ่งรวมไปถึงวิธีการให้ดมกลิ่นแต่ไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น
คุณหมอฮีลลิกยังได้บันทึกไว้ด้วยว่า ก่อนทำการกระตุ้นสมอง “คุณจะมีความต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากเท่าที่จะเป็นไปได้” และการเชื่อมโยงของสมองก็มีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นไฟฟ้าจริง
ระหว่างการรักษาในระยะ 3 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมจะได้รับการกระตุ้นจริงและกระตุ้นหลอกประมาณครั้งละ 30 นาทีต่อสัปดาห์ โดยในการกระตุ้นแต่ละครั้งผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะต้องสวมหมวกกันน็อคที่มีการเชื่อมต่อกับขดลวด TMS ที่ผลิตโดยบริษัทเบรนส์เวย์ (BrainWay) โดยกลุ่มที่มีการกระตุ้นจริงจะมีการกระตุ้นด้วยความคลื่นถี่ 10 เฮิรตช์ในแต่ละครั้ง ต่อการเต้นของหัวใจ 30 ครั้ง (ประมาณ 3 วินาที) ในช่วงระยะเวลา 15 วินาที รวมการเต้นหัวใจทั้งหมด 3 พันครั้ง ส่วนการกระตุ้นหลอก จะใช้วิธีสร้างเสียงปลอมๆ และทำการช็อตปลอมๆ ที่ผิวหนัง ให้เหมือนกับการกระตุ้นจริง แต่ไม่มีการปล่อยกระแสแม่เหล็กใดๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมทั้งหมด ผู้ปฏิบัติการและผู้ประเมินจะไม่มีใครรู้ว่าขดลวดที่ใช้อยู่เป็นชนิดใด
โดยผู้เข้าร่วมทดลอง 5 คน มีอาการกำเริบใน 3 สัปดาห์แรกของการรักษาและถูกตัดออกจากการวิเคราะห์ ค่ามัธยฐาน (ค่ากลาง) ของอายุผู้เข้าร่วมที่ได้รับการบำบัดจนจบกระบวนการคือ 43 ปีและ 2 ใน 3 เป็นผู้ชาย ส่วนการจัดสัดส่วนของเพศสภาพในการศึกษา สะท้อนให้เห็น “หน้าตาที่แท้จริงของกลุ่มที่กำลังมองหาการบำบัด” หมอฮีลลิกกล่าว และช่วงระหว่าง 12 สัปดาห์ในระยะติดตามผล มีผู้ติดสุราที่เข้าร่วมทดลอง 5 คนที่ขอออกจากการทดลองกลางครัน
ผลการบำบัดที่ค่อนข้างชัดเจน
ผลลัพธ์ในขั้นปฐมภูมิจากการบำบัด คือ สามารถช่วยลดวันดื่มหนัก (pHDD) ลงได้จริง โดยดูจากปริมาณการดื่มต่อวันซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5 แก้ว (แก้วละ 12 กรัม) ในผู้ชายและอย่างน้อย 4 แก้วในผู้หญิง
โดยขั้นต้นพบว่า วันที่ดื่มหนัก (pHDD) ในคนทั้งสองกลุ่มมีอัตราที่ลดลง ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในการศึกษาเรื่องแอลกอฮอล์ โดยคุณหมอฮิลลิกกล่าวว่า “ในวินาทีที่คนตัดสินใจเข้าร่วมการศึกษาวิจัยนี้ ทุกคนจะลดปริมาณการดื่มของตัวเองลงได้ ซึ่งการศึกษาโดยมีอคติแบบนี้อาจจะทำให้เกิดผลกระทบตามมา”
อย่างไรก็ดี จำนวนวันดื่มหนักกลับเพิ่มสูงขึ้นระหว่างการติดตามผลในกลุ่มที่ทำการทดลองแบบหลอก แต่ยังมีอัตราที่ลดลงในกลุ่มที่ทำการทดลองจริง โดยค่ามัธยฐานของวันดื่มหนัก มีอัตราลดลงอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มที่ได้รับการบำบัดจริง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการบำบัดหลอก
“ดังนั้น แม้ว่าจะมีอคติในการวิจัย แต่ผลที่เกิดจากการบำบัดก็ยังแสดงออกมาให้เห็นจริงและค่อนข้างชัดเจน” หมอฮิลลิกกล่าว
สิ่งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากผลการบำบัดจากกลุ่มต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะในการดื่มแอลกอฮอล์รายสัปดาห์และมีแนวโน้มว่าจะพบแอลกอฮอล์ในตัวอย่างปัสสาวะที่มีระดับแตกต่างกันออกไป
ส่วนผลลัพธ์ในระดับทุติยภูมิ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเรื่องความอยากแอลกอฮอล์จริง โดยประเมินจากการใช้เครื่องมือวัดระดับความอยากแอลกอฮอล์ (Penn Alcohol Craving Scale: PACS) โดยพบว่า อัตราความอยากดื่มลดลงในทั้งสองกลุ่มระหว่างการบำบัด และในกลุ่มที่ได้รับการบำบัดจริงมีอาการความง่วงลดลง ระหว่างการติดตามผลยังพบว่าระดับความอยากดื่มในกลุ่มที่ได้รับการบำบัดจริง มีอัตราเพิ่มขึ้นน้อยกว่าเมื่อเทียบกัน
จากการตรวจด้วยเครื่องมือในการตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย โดยใช้เครื่องสนามแม่เหล็ก และคลื่นความถี่วิทยุ (MRI) แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงกันในสมองทั้งกลีบสมองส่วนหน้าไปถึงส่วนย่อยช่วงท้าย และพื้นที่ในสมองที่เกี่ยวข้องกับการแสดงอารมณ์เชิงลบที่สามารถกระตุ้นความอยากดื่มและอาการกำเริบ หมอเฮลลิกกล่าว มันยังช่วยลดความเชื่อมโยงระหว่างส่วนหลังและส่วนท้ายของเปลือกสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นวงจรที่เชื่อมโยงกับระบบการให้รางวัล/ การชมเชยในสมองด้วย
ในการทดลองบำบัดนี้ นักวิจัยกำลังมองหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ดี “จนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีการศึกษาใดที่ใช้ TMS มาเป็นเครื่องมือในการวัดผลกระทบที่เกิดจากการทำกิจกรรมทางสมองอย่างแท้จริง ดังนั้น สำหรับผม สิ่งนี้จึงถือเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่บอกได้ว่ามันส่งปฏิกริยาบางอย่างต่อสมองจริง” หมอฮิลลิกกล่าว
การเจาะลงไปในสมองให้ลึกขึ้น
ผลลัพธ์ที่ออกมา เน้นให้เห็นความสำคัญของการแสดงผลของสมองในส่วนที่ลึกขึ้น โดย ดร.อับราฮัม แซนเจน หัวหน้าห้องทดลองการกระตุ้นสมองและพฤติกรรม และประธานของโครงการจิตวิทยาชีวภาพทางสมองจากมหาวิทยาลัยเบน กูเรียน ประเทศอิสรเอล ซึ่งเป็นนักเขียนร่วมในงานวิจัยนี้ได้กล่าวไว้
โดยการศึกษาเรื่อง TMS ก่อนหน้านี้ มีความเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นสมองเพื่อลดการสูบบุหรี่เพียงผิวเผินเท่านั้น แต่มันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลิกสูบแต่อย่างใด ดร.แซนเจนกล่าวว่า “หากตอนนั้นเรามุ่งเป้าไปในส่วนที่ลึกของเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า เราก็จะสามารถนำวิธีนั้นมาใช้กับการเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างถาวร” เขากล่าว และทำให้งานวิจัยนี้ได้รับการรับรองจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ในการใช้ TMS กับสมองส่วนลึกเพื่อการเลิกบุหรี่
การศึกษาในประเด็นเรื่องสมองส่วนลึกแบบเดียวกันนี้ ถูกนำมาใช้กับการวิจัยที่มีอยู่ปัจจุบัน “ดังนั้น การให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ยินยอมให้มีการเจาะลึกลงไปในสมองส่วนที่ลึกขึ้น และพุ่งเป้าไปที่ความเกี่ยวข้องทางพยาธิวิทยาของวงจรการเสพติด จึงถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของความสำเร็จในการศึกษาครั้งนี้” ดร.เซนเจนกล่าว
โดยผลการวิจัยยังไม่มีส่วนใดแสดงให้เห็นผลร้ายของการทดลอง มีแค่ผู้เข้าร่วมบางส่วนเท่านั้นที่ถูกรายงานว่ามีอาการปวดหัวชั่วคราวซึ่งก็ได้รับการแก้ไขในทันที และมีความถี่ที่เกิดขึ้นไม่ต่างกันระหว่างแต่ละกลุ่ม
ตอนนี้คุณหมอฮิลลิกตั้งใจจะทำการศึกษาในระยะที่ 3 ในหลายๆ พื้นที่ด้วยกระบวนการดังกล่าว และแนะนำให้มีการทำการทดลองเพิ่มเป็น 4 สัปดาห์ (จากเดิม 3 สัปดาห์) ในการบำบัดช่วงปฐมภูมิ และมีการเพิ่มการบำบัดอีกในรายสัปดาห์ “เพราะมีเหตุผลข้อบ่งชี้ทางชีวภาพที่ทำให้เชื่อได้ว่า มันอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัด แม้ว่าเรายังไม่มีข้อมูลก็ตาม” เขากล่าว
ในอีกแง่หนึ่ง เขาก็บันทึกไว้เช่นกันว่า การยืดระยะเวลาการทดลองให้นานขึ้น ก็อาจจะเพิ่มความยากในการคัดเลือกคนไข้มาเข้าร่วมการทดลองด้วยเช่นกกัน
นัยยะสำคัญทางคลินิกคืออะไร?
การให้ความเห็นจาก นายแพทย์ดีเร็ค เบลวินส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์คลินิก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และนักวิจัยด้านจิตเวช แผนกการใช้สารเสพติด จากสถาบันจิตเวชศาสตร์รัฐนิวยอร์ก เรียกงานวิจัยนี้ว่า “เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง”
จนถึงตอนนี้ การศึกษาเรื่องการใช้ TMS ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายเล็กๆ เช่น การลดความอยากเสพ แม้ว่าการศึกษาเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่ามันสร้างผลกระทบได้จริง แต่นัยยะสำคัญทางคลินิกก็ยังไม่ชัดเจนนัก โดยคุณหมอเบลวินส์ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยในปัจจุบัน กล่าวว่า
“ผมคิดว่าการศึกษางานวิจัยใหม่นี้ ได้แสดงให้เห็นนัยยะทางคลินิกที่ชัดเจนต่อการบำบัดอาการของโรคด้วยวิธีการที่ไม่ได้ล่วงล้ำร่างกายคนไข้ (non-invasive) ซึ่งเป็นการบำบัดที่ยากมาก” เขากล่าว
อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดที่จะทำให้เกิดการเลิกเสพได้ คุณหมอเบลวินส์ได้บันทึกไว้เช่นนั้น โดยมันอาจจะ “ช่วยได้จริงๆ” หากจะทำความเข้าใจว่า TMS อาจจะช่วยได้แค่ในระดับบุคคลเช่น โดยดูจากในกลุ่มคนที่มีอาการกำเริบระหว่างการศึกษา “เนื่องจากพวกเขาอาจจะไม่ตอบสนองต่อการบำบัดเป็นรายบุคคลจากที่เราเห็นในปฏิบัติการทางการแพทย์” เขากล่าว
หากการทดลองที่มีการวิจัยแบบที่มีเป้าหมายมากกว่า 1 ประเด็นได้เริ่มขึ้น คุณหมอเบลวินส์กล่าวว่า เขาก็อยากจะให้กลุ่มประชากรที่เป็นเป้าหมายในการศึกษา มีความหลาหลายทางเผ่าพันธุ์และชาติพันธุ์ด้วย
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนจากสหภาพยุโรปในปี 2020 และสภาวิจัยและนวัตกรรมแห่งสวีเดน งานวิจัยของคุณหมอฮิลลิกนี้ได้รับค่าที่ปรึกษา การสนับสนุนการวิจัย หรือค่าตอตอบแทนจากหน่วยงานต่างๆ ส่วน ดร.แซนเจน เป็นนักพัฒนาเรื่องการใช้ขดลวด TMS และมีผลประโยชน์ทางการเงินจากบริษัท เบรนเวย์ (BrainWay) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและทำการตลาดให้กับอุปกรณ์ขดลวดดังกล่าว ส่วนรายงานของคุณหมอเบลวินส์นั้น ไม่มีความสัมพันธ์ทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
https://www.medscape.com/viewarticle/965356
18 ก.ค. 65 / อ่าน 837
8 ก.ค. 65 / อ่าน 861
8 ก.ค. 65 / อ่าน 789
29 มิ.ย. 65 / อ่าน 914
28 มิ.ย. 65 / อ่าน 576
27 มิ.ย. 65 / อ่าน 628