-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
แพทย์และนักวิจัยชี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรมีฉลากคำเตือนเรื่องโรคมะเร็ง เพื่อผลักดันให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยง
การผลักดันให้มีฉลากเตือน เป็นไปเพื่อต้องการให้ชาวแคนาดาความเข้าใจว่า แอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นๆ ในการเกิดโรคมะเร็งที่สามารถป้องกันได้
มันไม่ใช่ความลับแต่มันก็ไม่ได้ต่างกันนัก เพราะมีชาวแคนาดาจำนวนน้อยมากที่รู้ความจริงเรื่องนี้ และมีจำนวนไม่มากที่อยากได้ยินความจริงนี้เช่นกันว่าแอลกอฮอล์ ที่ไม่ว่าจะปริมาณมากหรือน้อย ก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้ และไม่มีปริมาณการดื่มที่ปลอดภัยอยู่จริง ซึ่งมีการเรียกร้องมากขึ้นให้แจ้งข้อมูลความจริงนี้ในหมู่ชาวแคนาดา
“แม้ว่าจะดื่มแค่วันละแก้วแต่ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้เช่นกัน รวมถึงถ้าคุณเป็นผู้หญิง ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้มากพอๆ กับมะเร็งในระบบย่อยอาหาร มะเร็งช่องปากและมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย” ทิม สต็อกเวลล์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากสถาบันวิจัยการใช้สารเสพติดแห่งแคนาดา ของมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ได้กล่าวไว้
“ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นกับทุกแก้วที่คุณดื่ม”
แอลกอฮอล์ได้ถูกจัดลำดับโดยตัวแทนวิจัยระหว่างประเทศเรื่องโรคมะเร็ง ว่าเป็นสารก่อมะเร็ง (ในมนุษย์) กลุ่มที่ 1 มานานกว่าทศวรรษ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับใบยาสูบและแร่ใยหิน แอลกอฮอล์ยังเป็นสาเหตุต้นๆ ในโรคมะเร็งที่ป้องกันได้ รองจากการสูบบุหรี่และความอ้วน
แต่ชาวแคนาดาจำนวนมากที่ไม่มีความรู้เรื่องความเสี่ยงนี้เลย
สต็อกเวลล์ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ เขาและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพคนอื่นๆ จึงพยายามผลักดันให้เกิดการติดฉลากเตือนบนบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะประชาชนจำเป็นต้องรู้ เขากล่าว แม้ว่าจะมีปัจจัยทางพันธุกรรมและการใช้ชีวิตอื่นๆ ที่มีส่วนในการก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ทุกแก้วของแอลกอฮอล์ก็มาพร้อมความเสี่ยงเช่นกัน
“ความเสี่ยงที่เกิดจากแอลกอฮอล์ เกิดขึ้นในทุกครั้งที่ดื่ม ยิ่งดื่มมากและบ่อย ก็ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย”
เคที่ แอนดรูวส์ ไม่เคยรู้เลยว่าไวน์ที่เธอดื่มอยู่ทุกคืนอย่างรื่นรมย์ก่อนเธอตั้งครรภ์นั้นมีอันตราย โดยชาวเมืองแวนคูเวอร์คนนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในปี 2016
“ปัจจัยความเสี่ยงบางอย่างของดิฉัน คือการทำเด็กหลอดแก้วเพื่อให้ตั้งครรภ์ลูกคนนี้ และยังมีความเครียดในการใช้ชีวิตและการดื่ม รวมถึงการออกกำลังกายที่น้อยเกินไป ดังนั้น ฉันจึงคิดว่าทุกสิ่งที่กล่าวมาเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค” เธอกล่าว
เมื่อนางแอนดรูวส์ได้ทำการค้นคว้าข้อมูลด้วยตัวเองหลังได้รับการวินิจฉัยโรค เธอกล่าวว่าเธอตกใจที่พบว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพอดีๆ มีส่วนเชื่อมโยงกับการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ร้อยละ 30-50
แต่นางแอนดรูว์ก็ไม่ใช่คนเดียวที่เจอเรื่องนี้
ตามข้อมูลของสถาบันวิจัยเรื่องการใช้สารเสพติดแห่งประเทศแคนาดาระบุว่า มีนักดื่มชาวแคนาดาแค่ร้อยละ 25 เท่านั้นที่รู้ว่าแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้
ในประเทศแคนาดาปี 2020 มีกรณีการเกิดโรคมะเร็งใหม่ประมาณ 7 พันเคสที่มีความเชื่อมโยงกับแอลกอฮอล์
ด้วยยอดขายแอลกอฮอล์ที่ทะยานสูงขึ้นนับตั้งแต่การแพร่ระบาดใหญ่ (ของโควิด) กระตุ้นให้เกิดความกังวลว่าจะนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความเสี่ยงยังมีอยู่ตลอดเวลา แต่เป็นเรื่องง่ายที่คนจะไม่สนใจเพราะการดื่มถูกทำให้กลายเป็นเรื่องปกติและกลายเป็นรูปแบบในการเฉลิมฉลอง ผ่อนคลายและการให้รางวัลตัวเองอย่างหนึ่ง
“โควิดยังมีวันจบสิ้น ส่วนโรคมะเร็งจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป และจะยิ่งมีคนเป็นมากขึ้นเพราะคนดื่มมากขึ้น” ดร.ฟาวัด อิคบัล นักรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งศูนย์มะเร็งเดอร์แฮม เมืองโอชาวา รัฐออนทริโอ ได้กล่าวไว้
ดร.อิคบัล กล่าวว่า ในบรรดาคนไข้โรคมะเร็งของเขา ยังมีการรับรู้แค่ว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดีๆจะช่วยสร้างประโยชน์กับสุขภาพ โดยเฉพาะช่วยเรื่องสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ ดร.อิคบัลกล่าวว่างานวิจัยหลายฉบับที่แนะนำเรื่องการสร้างประโยชน์ทางสุขภาพจึงถูกหักล้างไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพวกมันช่วยเผยแพร่ ช่วยเพิ่มความสับสนและเข้าใจผิดในเรื่องนี้ให้มากขึ้น
และเขายังกล่าวอีกว่า แม้จะมีข้อค้นพบจากงานวิจัยต่างๆ แต่ก็ปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่าแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งและคนเหล่านั้นควรต้องระวังถึงความเสี่ยงนั้นด้วย
“มันเป็นเรื่องที่น่าตกใจไม่น้อยที่ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ เรามีการติดฉลากเตือนเรื่องนี้บนสิ่งของทุกอย่างที่ผมนึกออก ผมได้ซื้อเบ็ดตกปลาให้กับลูกๆ ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา และเบ็ดตกปลาอันนั้นก็มีป้ายเตือนว่ามันสามารถเป็นสาเหตุในการก่อมะเร็งได้ ซึ่งในทางตรงกันข้าม สารก่อมะเร็งลำดับที่ 1 (อย่างแอลกอฮอล์)กลับมีอยู่ในทุกที่และไม่มีการเตือนเป็นพิเศษบนของสิ่งนั้น”
ดร.อิคบัลได้ร่างข้อเสนอไปยังสมาคมแพทย์แห่งประเทศแคนาดาเพื่อเรียกร้องให้เกิดการผลักดันให้เกิดความชัดเจนเรื่องคำเตือนบนฉลากสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เรื่องความเสี่ยงจากสารก่อมะเร็งให้ผู้บริโภคได้รับรู้ เขายังได้ติดต่อไปยังคณะกรรมการเรื่องเหล้าของรัฐออนทริโอ สมาพันธ์ระดับท้องถิ่นที่มีอำนาจในการดูแลเรื่องสุขภาพ และนายกรัฐมนตรีด้วย
“ผมไม่ชอบเวลาที่ประชาชนถูกโกหกซึ่งรวมถึงตัวผมด้วย สารพิษนี้ถูกนำออกมาให้ทุกคนได้บริโภคและไม่มีใครออกมาเตือนคุณเลย”
และเหตุผลว่าทำไมประชาชนหลายคนถึงถูกผลักไปอยู่ในมุมมืด ดร.อิคบัลกล่าวว่า เขาคิดว่า “มันเป็นเพราะเรื่องเงิน เนื่องจากในอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ที่มีทั่วโลกสามารถสร้างรายได้ถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญ พวกเขาต่างสูญเสียเงินไปกับมันและเงินก็ชนะทุกครั้งเมื่อหมดวัน”
สต็อกเวลล์ยังเล่าถึงประสบการณ์ของงานวิจัยในเมืองยูคอน เพื่อยืนยันในเรื่องนี้
ในปี 2017 นักวิจัยสาธารณสุขและรัฐบาลเมืองยูคอน ได้เห็นชอบตรงกันว่าจะมีการทดสอบติดฉลากเตือนเรื่องการเกิดมะเร็งบนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมดในร้านเหล้าที่รัฐบาลเป็นเจ้าของในเมืองไวท์ฮอร์ส แต่แค่ไม่ถึงเดือนที่มีการติดฉลากเตือนเรื่องการเกิดมะเร็งเหล่านั้นมันก็ต้องถูกนำออกไป เนื่องจากแรงกดดันจากอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์
สต็อกเวลล์ ถือเป็นผู้นำในการศึกษาเรื่องการติดฉลากเตือน เขากล่าวว่า แม้ว่าเป็นที่รู้กันดีว่าแอลกอฮอล์เป็นสารก่อมะเร็ง แต่ตัวแทนจากอุตสาหกรรมก็ยังแย้งว่าฉลากเตือนเรื่องโรคมะเร็งจะทำให้คนแตกตื่นและเข้าใจผิดได้ เขายังเล่าต่อว่า เขตการปกครองไม่มีเงินมากพอที่จะใช้ในการต่อสู้ทางกฎหมายในเรื่องนี้ ดังนั้นฉลากเตือนการเกิดโรคมะเร็งจึงถูกดึงออก ในขณะที่ฉลากอื่นๆ เช่น ฉลากให้ข้อมูลเรื่องปริมาณมาตรฐานในการดื่มและคำแนะนำในการดื่มว่ามีความเสี่ยงต่ำกลับยังคงอยู่
“ข้อกล่าวหาของอุตสาหกรรมในการฟ้องหมิ่นประมาทคือเรื่องที่ผิดพลาดอย่างมาก ผิดพลาดอย่างที่สุด” สต็อกเวลล์กล่าวและเสริมว่า “พวกเขาใช้วิธียื้อเวลาและแช่แข็งทุกอย่างไว้ และหาวิธีเอาข้อความเหล่านั้นออกไปจากการรับรู้”
โดยทางองค์การกระจายเสียงแห่งประเทศแคนาดา (CBC) ได้ติดต่อไปยังองค์กรเบียร์ สุราและผู้ปลูกไวน์ของประเทศแคนาดา เพื่อสอบถามว่าพวกเขายอมรับความเชื่อมโยงระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์กับการเกิดโรคมะเร็งหรือไม่ และหากว่าพวกเขาเชื่อเช่นนั้น พวกเขาก็ต้องมีความรับผิดชอบในการที่จะแจ้งต่อผู้บริโภคว่ามันมีความเสี่ยง ซึ่งทั้งสามองค์กรได้ตอบรับกลับมา โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องความจำเป็นในการดื่มอย่างรับผิดชอบและการดื่มแต่พอดี
ในแถลงการณ์นั้น องค์กรเบียร์แห่งประเทศแคนาดาได้กล่าวว่า “การตัดสินใจว่าจะดื่มหรือดื่มมากน้อยแค่ไหนนั้น ถือเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล การบริโภคอย่างรับผิดชอบและพอดี สามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสมดุลให้กับการใช้ชีวิตของคนวัยผู้ใหญ่ส่วนมาก ที่มีอายุตามเกณฑ์ที่จะดื่มได้ตามกฎหมาย “นอกจากนั้น มันถือเป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน ว่าการบริโภคที่มากเกินความพอดีมักจะมาพร้อมความเสี่ยงทางสุขภาพ และในบางคน แม้จะมีการบริโภคในปริมาณที่พอดีๆ ก็ยังมีส่วนสร้างให้เกิดความเสี่ยงทางสุขภาพอยู่เช่นเดียวกัน”
กลุ่มผู้ปลูกไวน์ในประเทศแคนาดา (WGC) กล่าวว่า พวกเขาตระหนักถึงความเสี่ยงทางสุขภาพซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริโภคแอลกอฮอล์ และกำลังจะออกแนวทางเรื่องปริมาณการดื่มที่เหมาะสม “เพื่อเตรียมข้อมูลและเครื่องมือให้ชาวแคนาดาไว้ช่วยในการตัดสินใจที่จะบริโภคแอลกอฮอล์” โดยจะมีเว็บไซต์ที่แนะนำแนวทางการดื่มอย่างรับผิดชอบ มาตรฐานการคำนวณปริมาณการดื่ม และข้อแนะนำในการลดภัยคุกคามต่อกลุ่มเสี่ยง รวมถึงกลุ่มหญิงมีครรภ์และเยาวชน
พวกเขายังเสริมว่า “การทำข้อมูลเรื่องปริมาณแอลกอฮอล์ที่เหมาะสม เป็นการทำขึ้นเพื่อให้คนที่ไม่มีข้อมูลเหล่านี้เลย”
ส่วนองค์กรสุราแห่งชาติแคนาดา ยังคงจะให้ข้อมูลเรื่องประโยชน์ทางสุขภาพจากการดื่ม ในแถลงการณ์ของพวกเขากล่าวว่า “การบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดีๆ ถูกจดจำมาอย่างยาวนานว่าช่วยทำให้สุขภาพดีและงานวิจัยยังคงยืนยันว่ามีตัวชี้วัดเรื่องผลกระทบที่สร้างประโยชน์ให้กับโรคทางหลอดเลือก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับอายุที่มากขึ้น”
ซึ่งองค์กรสุราแห่งชาติแคนาดาได้เพิ่มนโยบายหลายๆ อย่างเข้ามาเพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคจะมีความตระหนักรู้ต่อความเสี่ยงในการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด รวมถึงการตั้งคณะกรรมาธิการควบคุมแอลกอฮอล์ของรัฐบาล การระบุอายุที่ถูกกฎหมายในการดื่ม เช่นเดียวกับที่จะมีการเข้มงวดกับพื้นที่ที่อนุญาตให้มีการขายแอลกอฮอล์และการตั้งราคาขั้นต่ำ “จากเบื้องหลังแนวทางการควบคุมและจัดการอย่างครอบคลุมที่เกิดขึ้นกับแอลกอฮอล์เหล่านี้ การติดฉลากเตือนจึงไม่มีประโยชน์ต่อการสร้างทางเลือกทางพฤติกรรมในการบริโภค หรือช่วยลดจำนวนคนดื่มแต่อย่างใด”
อย่างไรก็ตาม หลักฐานว่าการติดฉลากในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นได้ผลจริงกำลังเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงผลของการศึกษาเรื่องการติดฉลากในเมืองยูคอนด้วย มันถูกนำมาอ้างถึงอย่างต่อเนื่องในกลุ่มนักวิจัยและรัฐบาลทั่วโลกเนื่องจาก (แม้ว่าจะมีการแทรกแซงจากอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์) การศึกษาพบว่าข้อมูลนั้น ส่งผลกระทบกับพฤติกรรมของประชาชนจริง
สต็อกเวลล์ยังกล่าวอีกว่า แม้ว่าฉลากเตือนเรื่องการเกิดโรคมะเร็งจะถูกนำมาใช้แค่ 4 สัปดาห์ระหว่างการศึกษา แต่ผู้คนก็จำมันได้ เมื่อนำไปติดรวมกับฉลากอื่นๆ ที่มีอยู่บนบรรจุภัณฑ์แอลกอฮอล์รวมทั้งหมด 4 เดือน นักวิจัยพบว่าในตอนท้ายของการศึกษามีจำนวนการขายแอลกอฮอล์ลดลงถึงประมาณร้อยละ 7
ข้อค้นพบสำคัญอื่นๆ ที่สต็อกเวลล์กล่าวไว้คือ เมื่อคนเริ่มรู้ความจริงมากขึ้น พวกเขาก็รู้สึกโกรธมากขึ้นไปด้วย”
ดร.อีลิน โฮบิน ซึ่งเป็นผู้นำร่วมกับสต็อกเวลล์ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากหน่วยงานสาธารณสุขในเมืองออนทริโอ และเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานกับสถาบันวิจัยการใช้สารเสพติดแห่งแคนาดา โดยโฮบินกล่าวว่า จากการศึกษาเรื่องการติดฉลาก ถือว่ามันมีประสิทธิภาพจริง เนื่องจากพวกเขาได้ทำการออกแบบมาเป็นอย่างดี ตั้งใจใช้สีสันที่หลากหลายและใช้ตัวอักษรแบบหนา ซึ่งช่วยให้ข้อความที่ต้องการสื่อกับผู้บริโภคมีความชัดเจน
โฮบินกล่าวว่า จากการศึกษาที่เมืองยูคอนยังพบอีกว่ามีคนมากขึ้นที่ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ และมีคนมากขึ้นที่สนับสนุนแนวคิดการขึ้นราคา
“โดยปกติแล้ว นโยบายแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมสำหรับสาธารณชนและผู้มีอำนาจในการกำหนดกฎหมาย แต่มันเป็นนโยบายที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในการลดภัยคุกคามจากแอลกอฮอล์” โฮบินกล่าว
โฮบินยังกล่าวเพิ่มว่า ประเทศแคนาดาถือเป็นประเทศผู้นำในการออกแบบฉลากเตือนบนซองยาสูบและกัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เธอกล่าวว่า งานวิจัยล่าสุดได้ระบุว่า ฉลากที่มีการออกแบบมาเป็นอย่างดี “สามารถกลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ด้วยการให้ข้อมูลและความปลอดภัยมากขึ้น และอาจจะช่วยเปลี่ยนการรับรู้ของผู้บริโภคในเรื่องแอลกอฮอล์ จากเดิมที่มองว่าเป็นสารเสพติดชนิดไม่รุนแรงไปสู่สารเสพติดที่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงทางสุขภาพอย่างรุนแรง ซึ่งควรมีการพิจารณาทุกครั้งเมื่อจะดื่มแอลกอฮอล์” และประเทศในทวีปยุโรปหลายประเทศก็ได้พิจารณาให้มีการติดฉลากเตือนเรื่องโรคมะเร็งบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว
CBC ยังได้สอบถามไปยังองค์การสุขภาพแห่งชาติแคนาดา ซึ่งได้วางแผนที่จะทำเช่นเดิม โดยโฆษกของหน่วยงายได้กล่าวว่า มีการให้ทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการให้ข้อมูลกับชาวแคนาดาถึงภัยอันตรายที่มีอยู่มากมายเกี่ยวกับการใช้แอลกอฮอล์ และเป็นการอัพเดทข้อมูลในคู่มือการดื่มที่มีความเสี่ยงต่ำของประเทศและข้อมูลมาตรฐานในการดื่มที่กำลังจะทำขึ้นมา โดยการอัพเดทข้อมูลเหล่านั้นคาดว่าจะเสร็จสิ้นในสิ้นปีนี้
ในขณะเดียวกัน การสร้างความตระหนักรู้เรื่องนี้ได้แผ่ขยายออกไปผ่านข้อความรณรงค์ด้านสาธารณสุขทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียก่อนเกิดการระบาดใหญ่ (ของโควิด) โดยหน่วยงานทางสุขภาพเฟรเซอร์ (Fraser Health Authority) ในเขตบริติชโคลัมเบีย ได้เริ่มแจกจ่ายโปสเตอร์ที่พูดถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งที่มาพร้อมการดื่มออกไปแล้ว
ผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพได้ทำการกระตุ้นรัฐบาลในทุกระดับ ให้แสดงออกในทันทีเพื่อเตือนภัยชาวแคนาดาถึงความเสี่ยงโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้แอลกอฮอล์
“ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องเศร้านะ” ดร.อิริค โยชิดะ อาจารย์แพทย์จากมหาวิทยาลัยบริชติชโคลัมเบียและประธานของคณะกรรมาธิการให้คำปรึกษาทางการแพทย์แห่งมูลนิธิโรคตับแคนาดา กล่าว “ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เลวร้ายมากจริงๆ และเป็นเรื่องที่รับไม่ได้อย่างมาก ผมคิดว่าการพูดคุยเรื่องเหล่านี้ควรเกิดขึ้นตั้งแต่ปีก่อนๆ หรือตั้งแต่สิบปีที่แล้ว”
หมอโยชิดะเรียกร้องให้มีฉลากเตือนบนสินค้าเพื่อสร้างความตระหนักและยับยั้งการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด เขากล่าวว่าเขาได้เห็น “คลื่นมหาชน” ของคนไข้ที่จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายตับตั้งแต่ปี 2019 ขณะที่คนไข้ในบริติชโคลัมเบีย มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเข้ารับการปลูกถ่ายตับโดยไม่จำเป็นต้องงดการดื่มเป็นเวลา 6 เดือน
หมอโยชิดะกล่าวว่า คนไข้หลายคนของเขาคือคนหนุ่มสาวที่มีอายุ 20 หรือ 30 กว่าปีเท่านั้น ซึ่งไม่มีความรู้มาก่อนเลยว่าการดื่มสามารถทำให้เกิดอันตรายกับสุขภาพได้
เขากล่าวอีกว่า “พวกเขาตกใจมากเมื่อคิดได้ว่าแอลกอฮอล์เหล่านั้นสามารถฆ่าพวกเขาได้” โยชิดะยังกล่าวอีกว่า ฉลากเตือนภัยต้องเป็นส่วนหนึ่งในการพยายามสร้างความตระหนักรู้ให้แพร่หลาย
“ผมคิดว่ารัฐบาลจะต้องทำงานมากขึ้น ผมคิดว่าต้องใส่ข้อมูลเหล่านี้ในระบบการศึกษา ในสื่อ ในครอบครัว ซึ่งในตอนนี้พวกเขายังทำได้ไม่ดีพอ”
นางแอนดรูวส์ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมเห็นด้วยกับสิ่งนี้ และเสริมว่าหากเธอรู้แล้วว่าความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมีความเชื่อมโยงกับการดื่ม เธอจะงดดื่มหรือดื่มให้น้อยลงมากๆ เธอรู้สึกขอบคุณที่ตอนนี้อาการของเธอฟื้นตัวดีขึ้นมาก แต่ก็อยากให้คนอื่นได้รู้เรื่องนี้มากกว่าที่เธอเคยรู้
“มันสามารถทำให้เราอายุสั้นลงและเอาชีวิตไปจากผู้คนที่รักเขา ประชาชนกำลังเอาสิ่งที่อันตรายจริงๆ เข้ามาใส่ให้ร่างกายตัวเอง และพวกเขาก็ไม่รู้ความจริง ซึ่งมันไม่คุ้มกันเลย”
https://www.cbc.ca/news/health/alcohol-warning-labels-cancer-1.6304816
18 ก.ค. 65 / อ่าน 837
8 ก.ค. 65 / อ่าน 861
8 ก.ค. 65 / อ่าน 789
29 มิ.ย. 65 / อ่าน 914
28 มิ.ย. 65 / อ่าน 576
27 มิ.ย. 65 / อ่าน 628