• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • Clip Video
  • สื่อรณรงค์
  • รวมลิงค์
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์
  • Clip Video
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

สสส. ชวนงดเหล้ายุคโควิด ลดเสี่ยงติดเชื้อเพิ่ม

หมวดหมู่ ข่าวรอบสัปดาห์, วันที่ 19 กรกฎาคม 64 / อ่าน : 1,045


สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลสำรวจของ เรื่องพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย ปี 2560 โดยจำแนกตามเพศและอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการดื่มสูงที่สุดอยู่ที่ 36% ขณะที่ กลุ่มอายุ 20-24 ปี และ 45-49 ปี มีอัตราการดื่มสุราในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ 33.5% และ 31.1% ตามลำดับ ส่วนกลุ่มผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราการดื่มสุราอยู่ที่ 15.2% และกลุ่มเยาวชนที่มีอายุ 15-19 ปี  มีอัตราการดื่มสุราต่ำสุดอยู่ที่ 13.6% 

นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิต ได้เผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงการติดเชื้อต่าง ๆ ของผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า พฤติกรรมการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเสี่ยงที่ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสกว่า 3 – 7 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผู้ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีโอกาสเข้าไอซียู มากกว่าปกติ 60% 

จากรายงานผลทางสถิติและตัวเลขข้อมูลข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยิ่งทวีความรุนแรงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขและชีวิตของผู้ดื่มได้มากยิ่งขึ้นหลายเท่า

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมมือกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) จัดเสวนาออนไลน์ “เลิกเหล้าเข้าพรรษาอย่างไร ให้ปลอดภัยในสถานการณ์โควิด -19” พร้อมการยกระดับ “ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด สายด่วน1413” โฉมใหม่ จัดนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการเลิกสารเสพติดทุกชนิด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้ประชาชน ลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จากพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยการลด ละ เลิกอบายมุขในวันเข้าพรรษา

น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า วันเข้าพรรษาปีนี้ของไทยยังคงอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของ สสส. และภาคีเครือข่าย จำเป็นต้องใช้รูปแบบการสื่อสารที่เป็นออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ที่ขอความร่วมมือให้ประชาชนสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ลดการเดินทาง และเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อทุกชนิด 

“ปีนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่ยังดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรเริ่มต้น ลด ละ เลิก เพราะผู้ติดสุรา เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อในปอดได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 2.9 เท่า ซึ่งจะส่งผลให้มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ง่ายขึ้นอีกด้วย”

“นอกจากนี้ในสถานการณ์ที่ทุกคนต้องดำเนินการฉัดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันการแพร่เชื้อของโรคโควิด-19 ผู้ที่ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรงดการดื่มก่อนฉีดวัคซีน ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วฉีดวัคซีนจะสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ดื่ม เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจเข้าไปรบกวนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายในร่างกายหลังจากการฉีดวัคซีนได้”

น.ส.รุ่งอรุณ กล่าวต่ออีกว่า สสส.เริ่มรณรงค์มาตั้งแต่ปี 2546 นับเป็นเวลา 18 ปี ที่ สสส. และภาคีเครือข่ายงดเหล้ายังคงยึดเจตนารมณ์เดิมคือ ส่งเสริมให้ประชาชน ลด ละ เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดทุกชนิด ผ่านการขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ เช่น โครงการ “ให้เหล้าเท่ากับแช่ง”  และ สสส. สนับสนุนให้เกิดเป็นรูปธรรม คือการสนับสนุนให้เกิดศูนย์ปรึกษาปัญหาการดื่มสุรา สายด่วน 1413 เพื่อให้บริการปรึกษาการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยปีนี้ได้ยกระดับให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ด้วยการเพิ่มนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกสารเสพติดทุกชนิด เพราะเชื่อว่าทุกคนจะมีสุขภาวะที่ดีได้จะต้องเริ่มจากการใช้ชีวิตที่ปราศจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ  

“จากการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2563” โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) มีผู้ร่วมงด ลด ละ เลิกดื่มแอลกอฮอล์รวม 12.14 ล้านคน โดยผลของการ ลด ละ เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันเข้าพรรษา พบว่าประชาชนส่วนใหญ่สุขภาพร่างกายดีขึ้น มีเงินเก็บ และสภาพจิตใจดีขึ้น ซึ่งทาง สสส. มีความมุ่งมั่นให้คนไทยร่วมงดเหล้าเข้าพรรษาให้ได้  50-60%”

สำหรับ ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (Alcohol and Drugs Helpline Centre) สายด่วน1413 ถือเป็นหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. โดยในปีนี้ ปี 2564 สายด่วน 1413 ได้ยกระดับให้ดีมากยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มจำนวนนักจิตวิทยาเพื่อคอยให้คำแนะนำ ประเมินความเสี่ยงกับประชาชนที่ต้องการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดทุกชนิด 

รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด กล่าวว่า ในช่วงเข้าพรรษา 3 เดือนมีคนโทรเข้ามาขอรับฟังคำปรึกษาเพื่อเลิกเหล้าในช่วงนี้มากถึง 500 – 1,000 คนขึ้นไป ปีนี้ได้ยกการบริการให้คำปรึกษาให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนนักวิทยาคอยให้คำแนะนำ เพื่อเป็นสะพานเชื่อมให้คนกลุ่มนี้กล้าที่จะเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายกับชีวิต โดยเพราะในกลุ่มนักดื่มที่ดื่มติดต่อกันทุกวันเป็นเวลาหลายปีอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคติดสุรา การหยุดดื่มกะทันหันในวันเข้าพรรษาอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการมือสั่น ใจสั่น เหงื่อออก มีไข้ กระสับกระส่าย และในบางรายอาจมีอาการชักเกร็งกระตุก ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า “อาการถอนสุรา” ที่ผู้ติดสุราบางคนไม่รู้วิธีรับมือกับภาวะที่ต้องเผชิญ

นายธวัชชัย กุศล  รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด กล่าวว่า คนที่โทรเข้ามาส่วนมากต้องการกำลังใจ ซึ่งทางเราจะต้องทราบเป้าหมายและแรงจูงใจของเขาที่จะลดละเลิก ซึ่งทางศูนย์ฯ 1413 จะได้ทำการประเมินและคัดกรองว่า ใครควรจะได้รับการรักษาจากแพทย์ โดยศูนย์จะทำหน้าที่ประสาน และติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะมนุษย์ทุกคนต้องการกำลังใจในระยะยาว ต้องการคนเข้าใจ แม้ว่าจะเลิกไม่ได้ทันทีก็ตาม

ด้าน นายณพสิน แสงสุวรรณ หรือ หนุ่ม กะลา ศิลปิน-นักร้อง เปิดเผยมุมหนึ่งของชีวิตตนเองที่เคยติดเหล้าจนเกือบตาย ว่า ตนเองนั้นดื่มมาตั้งแต่เป็นเด็ก แต่มาเริ่มติดการดื่มเมื่อช่วงตอนออกอัลบั้มที่ 3 ด้วยความที่ตนเองเป็นคนที่ขี้กังวล คิดมาก เวลาไปเล่นคอนเสิร์ต กลัวว่าคนที่มาฟังจะไม่สนุก เพราะพวกเขาเมากันแล้ว จึงทำให้เราต้องดื่มเพื่อให้เมาเหมือนแฟนเพลง ผลปรากฏว่าตนเองรู้สึกว่ามันสนุก นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้หนุ่ม กะลา ติดสุรามายาวนานถึง 10 ปี

“การดื่มในช่วงนั้นของตนถือว่าดื่มไม่แพ้ชาติใดในโลก ดื่มตั้งแต่ก่อนโชว์จนโชว์เสร็จก็ดื่มต่อจนถึง 10 โมงเช้าแล้วค่อยเข้านอน ตอนช่วงวัยรุ่นสุขภาพยังดีไม่มีผลกระทบ พอช่วงหลังเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งไอ และอุจจาระเป็นเลือด ดื่มไม่รู้สึกตัว จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ตื่นมาพบว่าร่างกายบาดเจ็บ และช่วงหลังที่ดื่มหนักพบว่าการดื่มทำให้เครียดมากขึ้น กลายเป็นคนเก็บตัว เกิดภาวะซึมเศร้า จนต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอยู่หลายเดือน จากนั้นจึงตัดสินใจเลิกเหล้าในช่วงเข้าพรรษา เริ่มจากหยุดดื่มน้อยไปมาก เริ่มจากการตั้งใจหยุดดื่ม 3 วัน เพิ่มเป็น 7 วัน 10 วัน และ 1 เดือน ใช้เวลารวมในการเลิกเหล้าทั้งหมด 1 ปี จนตอนนี้เลิกได้ 11 ปี แล้ว” 

เราต่างทราบกันดีถึงผลร้ายของสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ด้วยปัจจัยและบริบทรอบตัวที่เกิดขึ้น อาจไม่ทำให้เราหลีกเลี่ยงที่จะแตะต้องสิ่งเหล่านี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และช่วงใกล้วันเข้าพรรษา จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ที่ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะหันมาลด ละ เลิก เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี และสำหรับใครที่ต้องการงดเหล้าและสารเสพติดในวันเข้าพรรษาหรืองดตลอดชีวิต สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วน 1413 “เลิกเหล้า เราช่วยได้” เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00-20.00 น. ส่วนกรณีผู้ที่ติดสุราและกำลังจะไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ควรจะขอรับคำปรึกษาจากทางสายด่วน1413 ด้วยเช่นกัน

 

 

https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_2833069



เรื่องอื่นๆ


คะแนนจราจรใหม่ มี 12 คะแนนเท่ากัน เมาแล้วขับ ตัดแต้มสูงสุด
คะแนนจราจรใหม่ มี 12 คะแนนเท่ากัน เมาแล้วขับ ตัดแต้มสูงสุด

17 ก.ค. 65 / อ่าน 1229

ประกาศแล้ว! ระเบียบใหม่ ยึดใบอนุญาตขับขี่ และ ระงับการใช้รถชั่วคราว
ประกาศแล้ว! ระเบียบใหม่ ยึดใบอนุญาตขับขี่ และ ระงับการใช้รถชั่วคราว

15 ก.ค. 65 / อ่าน 1142

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม 'วันงดดื่มสุรา' จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม
สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม 'วันงดดื่มสุรา' จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม

14 ก.ค. 65 / อ่าน 1261

คำขวัญนายกรัฐมนตรี ในวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ปลอดเหล้า ปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19
คำขวัญนายกรัฐมนตรี ในวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ปลอดเหล้า ปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19

12 ก.ค. 65 / อ่าน 1173

ตร.เตือนห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา
ตร.เตือนห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา

12 ก.ค. 65 / อ่าน 814

สธ. เผยความเห็น ปชช. พบ 83.5% ไม่เที่ยวสถานบันเทิง หวั่นเสี่ยงโควิด
สธ. เผยความเห็น ปชช. พบ 83.5% ไม่เที่ยวสถานบันเทิง หวั่นเสี่ยงโควิด

12 ก.ค. 65 / อ่าน 719

ดูข่าวรอบสัปดาห์ทั้งหมด


ค่าใช้จ่ายที่คุณดื่มใน 1 สัปดาห์

(บาท)
  • หลังจาก 1 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 6 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 1 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 5 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.

หมวดข่าว

  • ข่าวรอบสัปดาห์
  • ข่าวภัยจากน้ำเมา
  • ข่าวรณรงค์
  • ข่าวงดเหล้าทั่วไทย
  • ข่าวต่างประเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • สุขปลอดเหล้า
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

เครือข่าย

  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันออก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคกลาง
  • กรุงเทพมหานคร
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันตก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง

Links

  • เกี่ยวกับ stopdrink.com
  • ปรึกษาการเลิกเหล้า 1413
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์/ดาวน์โหลด
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)
110/287-288 ม.6 ซอยโพธิ์แก้ว แยก 4 ถ.โพธิ์แก้ว แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
โทร 02 948 3300 , Fax สคล. 02 948 3930, Fax สปอนเซอร์ชิป 02 948 3302
eXTReMe Tracker