-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
งดเหล้าเข้าพรรษา ปี 65 เพจเรื่องเล่าหมอชายแดน ออกมาเปิดเผยข้อมูลเพื่อเป็นข้อแนะนำให้กับผู้ที่อยากจะงดเหล้าช่วงเข้าพรรษาเพื่อสร้างกุศลให้ตัวเองและครอบครัว โดยระบุว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่อย่างน้อยช่วง 3 เดือนนี้ จะได้พักตับ ฟื้นฟูตับ และระบบประสาทต่างๆ ให้ดีขึ้นมา และจะดีขึ้นไปอีกถ้างดเหล้าตลอดไป ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่มีปัญหาครอบครัว ไม่มีปัญหาสังคม
“แต่ผู้ที่ดื่มสุราปริมาณมากเกือบทุกวัน ต้องค่อยๆ ลดการดื่ม ไม่ใช่หยุดทันทีแบบหักดิบในวันเข้าพรรษา เพราะหลังจากนั้น 1-3 วัน จะเกิดอาการ Alcohol withdrawal syndrome หรือกลุ่มอาการเนื่องจากการขาดสุรา ในช่วง 4 วันมานี้ มีคนไข้ประมาณ 1 ล็อก ของทุกวอร์ดอายุรกรรม มาด้วยอาการเหล่านี้ เช่น ชักกระตุก หมดสติ โวยวายควบคุมอาการไม่อยู่ ประสาทหลอน เพ้อ มือสั่น คลื่นไส้อาเจียน”
เพจเรื่องเล่าหมอชายแดน ระบุด้วยว่า เคสที่มาแบบเบาๆ ก็พวกอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เราต้องมัดมือมัดเท้าไม่ให้ตกเตียง และใช้ยาระงับประสาทปริมาณมากเพื่อควบคุมอาการ กว่าจะกลับมาเป็นผู้เป็นคนพูดคุยรู้เรื่อง ปกติต้องใช้เวลาเกือบสัปดาห์ ดังนั้นขอย้ำว่าการเลิกเหล้าเป็นสิ่งที่ดีมากที่หมอสนับสนุนและชื่นชม ให้กำลังใจผู้ที่อยากเลิก แต่อยากเลิกเหล้าต้องค่อยๆ ลดปริมาณลง หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาช่วยลดอาการขาดสุรา เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
ก่อนหน้านี้ กรมการแพทย์ ระบุถึงผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หมายถึง ผู้ที่ดื่มมากกว่าตั้งแต่ 5 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไป และดื่มวันละมากกว่า 2 ดื่มมาตรฐาน ซึ่งเทียบได้กับเบียร์ 1.5 กระป๋อง เหล้าแดง 4 ฝา ไวน์ 2 แก้ว เหล้าขาว 2 เป๊ก จะทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ขาดความรับผิดชอบ เสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิต เช่น ซึมเศร้า อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร มีอาการประสาทหลอน หูแว่ว หวาดระแวง ระบบความจำบกพร่อง สับสนไม่รู้วัน เวลา สถานที่ สมองเสื่อม มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม
ทั้งนี้ หากหยุดดื่มอย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทันและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ หากเมื่อกลับมาดื่มอีกครั้งจะไม่สามารถควบคุมตัวเองให้หยุดดื่มได้ ทำให้ดื่มมากกว่าที่เคยดื่ม เกิดพิษสุราแบบเฉียบพลันได้ง่ายกว่าปกติ ครอบครัวและคนใกล้ชิด ควรสังเกตอาการของผู้ที่หยุดดื่มกะทันหัน หากพบมีอาการเสี่ยงให้รีบพาไปพบแพทย์ เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือเข้าสู้กระบวนการบำบัดรักษา
สำหรับการบำบัดรักษามี 2 รูปแบบ คือ การบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก เหมาะสำหรับผู้ติดแบบไม่รุนแรงมาก สามารถดูแลการทานยาและควบคุมการหยุดดื่มได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางกาย การบำบัดแบบผู้ป่วยใน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการดื่มได้ หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางกาย โดยแพทย์จะบำบัดรักษาอาการถอนพิษสุราและภาวะแทรกซ้อน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นฟูกระบวนการคิด สมรรถภาพร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป
https://news.ch7.com/detail/583099
18 ก.ค. 65 / อ่าน 2614
14 ก.ค. 65 / อ่าน 2318
12 ก.ค. 65 / อ่าน 2665
11 ก.ค. 65 / อ่าน 2950
5 ก.ค. 65 / อ่าน 1727
4 ก.ค. 65 / อ่าน 1919