• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • Clip Video
  • สื่อรณรงค์
  • รวมลิงค์
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์
  • Clip Video
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

กฎหมายคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้มขึ้นต้องไปทางไหน??

หมวดหมู่ ข่าวรอบสัปดาห์, วันที่ 12 สิงหาคม 64 / อ่าน : 872


พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ฉบับปัจจุบันที่ใช้มานานกว่า 13 ปี ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ วงเสวนาออนไลน์ คนไทยห่วงสังคม !อยากเห็นกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้มข้น นักวิชาการร่วมให้ความเห็นในการปรับแก้ 

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่ใช้มานานกว่า 13 ปี ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ ที่เน้นการแก้ไขในหมวดคำนิยามของ ‘เครื่องดื่มแอลกอฮอล์’ และ ‘สื่อสารการตลาด’ โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นเวลา 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.-9 ก.ค. 2564 ผ่านเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

วงเสวนาออนไลน์  คนไทยห่วงสังคม! อยากเห็นกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้มข้นสนับสนุนโดย ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีนักวิชาการเข้ามาให้ความเห็น


ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล อาจารย์คณะวิทยาการสื่อสาร (วสส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  เอ่ยถึงพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 รวมทั้งร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ที่จะเกิดขึ้นว่า ไม่ได้ระบุแพลตฟอร์มในการเผยแพร่ ทำให้ที่ผ่านมามีรูปแบบโฆษณาแฝงในออนไลน์  ขณะที่การโฆษณาในทีวีแทบจะไม่มีผล เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ดูทีวี  ดังนั้นเมื่อต้องปรับแก้กฏหมาย เพื่อไปควบคุมการโฆษณาในสื่อออนไลน์ ต้องระบุในข้อกฎหมายที่หลากหลาย  ระบุชนิดว่าเป็นสินค้าประเภทไหน กำหนดช่วงเวลา กำหนดอายุผู้ชม

 

ผศ.ดร.วลักษณ์กมล  กล่าวว่าในมุมของนักสื่อสารถ้ารัฐเป็นห่วงเยาวชนจะเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยง่าย ต้องให้การศึกษารู้เท่าทันกลยุทธ์การขาย  แทนที่จะเข้าไปควบคุมเพียงอย่างเดียว

“ในประเทศออสเตรเลียมีสมาคมผู้ผลิตโฆษณาเหล้าเบียร์ กำหนดระเบียบของการโฆษณา เพื่อให้เกิดการควบคุมกันเอง ได้แสดงความรับผิดชอบไม่ปรากฏภาพสุราในสื่อของเด็กเยาวชน  มีมาตราการหลากหลาย ผู้ผลิตอยู่ได้ สังคมต้องรู้เท่าทัน ในประเทศฝรั่งเศล มีข้อยกเว้นบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เชิงวัฒนธรรมที่สามารถเผยแพร่ผ่านสื่อได้ โดยใช้กฏหมายคำนึงสภาพสังคม”นักวิชาการด้านสื่อสารยกตัวอย่างการบังคับใช้กฏหมายในต่างประเทศ

ที่ผ่านมาแม้มีกฎหมาย แต่ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการบังคับจับกุมยังมีช่องว่างในสังคมไทย ทำให้บริษัทเครื่องดื่มแอลกฮอล์ รุกใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเข้าถึงกลุ่มเยาวชน

ด้าน ผศ.ดร.ชัยวัฒน์  โยธี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่าเห็นด้วยของในมุม ดร.วลักษณ์กมล  ยอมรับว่าในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ที่เติบโตมากับวัฒนธรรมการดื่ม เพราะเคยเรียนช่างกล ในสมัยนั้นคุ้นเคยการทำตลาดของเบียร์ยี่ห้อหนึ่งที่ขายในราคา 3 ขวดร้อย ทำให้เกษตรกรหันมาดื่มเบียร์มาก ส่งผลให้บริษัทเบียร์มีรายได้มหาศาล

 “ในมุมเศรษฐกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใช่ผู้ร้าย  ดื่มแล้วใช้ความรุนแรง ตีกัน มีอุบัติเหตุประเด็นนี้ไม่เถียง  แต่ที่ผ่านมาในสังคมไทยไม่ปลูกฝังค่านิยมนักดื่มที่ดี ให้ความรู้เรื่องดื่มอย่างไรให้ถูกต้อง พอประมาณ ควบคุมตัวเองได้  ในมุมของผม ประเทศไทยควรให้การเรียนรู้ ดื่มอย่างมีจิตสำนึก  ถ้าเรามีการจำกัดที่เคร่งครัดกว่าเดิม กลุ่มร้านค้าที่เป็นรายเล็กรายน้อย ร้านอาหารกระทบแน่นอน เพราะร้านอาหารส่วนใหญ่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นห่วงโซ่ให้ชวนคิด”

ผศ.ดร.ชัยวัฒน์  กล่าวต่อว่าในประเด็นในเรื่องคราฟท์เบียร์ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผสมศิลปะให้ขายเฉพาะในบาร์ มีข้อห้ามจำกัดการผลิต ทำให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตคราฟท์เบียร์ ในประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่งกลับมาขายที่ประเทศไทย  ในความเห็นคราฟท์เบียร์ ถ้าเปิดโอกาสให้รายย่อยผลิตมากขึ้น อาจเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างกำไรได้พอสมควร

“ปฏิเสธไม่ได้ในทางปฏิบัติ บริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผูกพันกับตลาดเศรษฐกิจ และผูกพันกับกับนักการเมือง เป็นท่อน้ำเลี้ยงของพรรคการเมืองใหญ่ เป็นกลไกการตลาดของภาคเอกชน แม้จะควบคุมอย่างไรก็ยังมีเอี่ยวในผลประโยชน์ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายย่อย” ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ ระบุ

แนวทางการปรับแก้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551ต้องมองในหลายมิติ และมีข้อมูลมาสนับสนุนเหตุผลในการแก้ไข

อ.พรพล เทศทอง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า กฏหมายที่ดีสุดต้องปรับเปลี่ยนไปตามโครงสร้างของสังคม มีตัวอย่างในประเทศฝรั่งเศล  เก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบังคับใช้กฏหมายเมาแล้วขับก่อนหน้าประเทศไทยมาแล้ว30 ปี  จะมองเชิงเศรษฐกิจหรือสุขภาวะอนามัย  ต้องอย่าลืมพื้นฐานสิทธิผู้ประกอบการมีสิทธิ์ ขณะที่ฝั่งประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองทางสุขภาพด้วย

ด้าน ผศ.สุรินรัตน์ แก้วทอง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ร่างกฏหมายปี2551  ปัญหาหลักมาจากโครงสร้างตลาด มีกลุ่มทุนใหญ่ครอบ มีอำนาจเหนือกฎหมาย เบื้องหลังการออกกฏหมายมีคอนเน็กชัน ทำให้กลไกการออกกฏหมายทำแบบพอเป็นพิธี จึงไม่ส่งผลกระทบต่อเจ้าของตลาดขนาดใหญ่ ปัจจุบันบทลงโทษแทบจะไม่มีผลต่อผู้ผลิตรายใหญ่ ดังนั้นมีข้อเสนอว่าบทลงโทษของผู้ฝ่าผืน ควรปรับผันตามทุนทรัพย์ที่จดทะเบียน และรายได้ของธุรกิจ นอกจากนี้ควรกำหนดราคาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้สูงขึ้น เพื่อนำเม็ดเงินที่ได้ ไปเยียวยาผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน ที่มีสาเหตุมาจากเมาแล้วขับ และผลกระทบทางสุขภาพที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ

“การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจุบันมีการควบคุมเวลา ไม่ให้มีแบรนด์สินค้าโผล่ในสื่อ แต่บริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปผลิตน้ำดื่มที่มียี่ห้อเดียวกัน  จริงๆแล้วแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ควรอยู่ในสินค้าอื่นใด แบบนี้คือการโฆษณาทางอ้อม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวกฏหมายอย่างเดียวแต่ผู้ประกอบการมีอำนาจเหนือตลาด”

ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า  ผลการสำรวจทางโทรศัพท์จากกลุ่มตัวอย่าง 1,533 คน จาก 15 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่าการรับรู้ต่อกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พบว่า ร้อยละ 80 รับรู้ข้อกฎหมายเรื่องสถานที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อายุขั้นต่ำ แต่ต่ำกว่าครี่งไม่รู้ว่า ห้ามดารา หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงโพสต์รูปคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อออนไลน์ และธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังสามารถให้การสนับสนุนการจัดงานต่างๆ ได้

มุมมองจากนักวิชาการสะท้อนพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มีช่องว่าง และการบังคับใช้กฎหมาย ควรทำพร้อมกับการสร้างความตระหนักรู้ เพราะที่ผ่านมายังเห็นภาพไม่ชัด

 

 

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/articles/112213/

 

 

 



เรื่องอื่นๆ


คะแนนจราจรใหม่ มี 12 คะแนนเท่ากัน เมาแล้วขับ ตัดแต้มสูงสุด
คะแนนจราจรใหม่ มี 12 คะแนนเท่ากัน เมาแล้วขับ ตัดแต้มสูงสุด

17 ก.ค. 65 / อ่าน 1711

ประกาศแล้ว! ระเบียบใหม่ ยึดใบอนุญาตขับขี่ และ ระงับการใช้รถชั่วคราว
ประกาศแล้ว! ระเบียบใหม่ ยึดใบอนุญาตขับขี่ และ ระงับการใช้รถชั่วคราว

15 ก.ค. 65 / อ่าน 1609

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม 'วันงดดื่มสุรา' จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม
สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม 'วันงดดื่มสุรา' จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม

14 ก.ค. 65 / อ่าน 1702

คำขวัญนายกรัฐมนตรี ในวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ปลอดเหล้า ปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19
คำขวัญนายกรัฐมนตรี ในวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ปลอดเหล้า ปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19

12 ก.ค. 65 / อ่าน 1607

ตร.เตือนห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา
ตร.เตือนห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา

12 ก.ค. 65 / อ่าน 957

สธ. เผยความเห็น ปชช. พบ 83.5% ไม่เที่ยวสถานบันเทิง หวั่นเสี่ยงโควิด
สธ. เผยความเห็น ปชช. พบ 83.5% ไม่เที่ยวสถานบันเทิง หวั่นเสี่ยงโควิด

12 ก.ค. 65 / อ่าน 868

ดูข่าวรอบสัปดาห์ทั้งหมด


ค่าใช้จ่ายที่คุณดื่มใน 1 สัปดาห์

(บาท)
  • หลังจาก 1 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 6 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 1 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 5 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.

หมวดข่าว

  • ข่าวรอบสัปดาห์
  • ข่าวภัยจากน้ำเมา
  • ข่าวรณรงค์
  • ข่าวงดเหล้าทั่วไทย
  • ข่าวต่างประเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • สุขปลอดเหล้า
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

เครือข่าย

  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันออก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคกลาง
  • กรุงเทพมหานคร
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันตก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง

Links

  • เกี่ยวกับ stopdrink.com
  • ปรึกษาการเลิกเหล้า 1413
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์/ดาวน์โหลด
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)
110/287-288 ม.6 ซอยโพธิ์แก้ว แยก 4 ถ.โพธิ์แก้ว แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
โทร 02 948 3300 , Fax สคล. 02 948 3930, Fax สปอนเซอร์ชิป 02 948 3302
eXTReMe Tracker