-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำทีมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ขณะที่ผู้หญิงเสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงมากถึง 1,825 คนจากจำนวนผู้ถูกกระทำที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ย 30,000 คนต่อปี
(19 พ.ย.2562) นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ พม.ติดเข็มกลัดริบบิ้นสีขาว ให้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อแสดงเจตจำนงและแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงการไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย และไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว
นายจุติ กล่าวว่า เดือน พ.ย.ของทุกปี เป็น “เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี” โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกสังคมและทุกประเทศทั่วโลก จนเกิดเป็นกระแสสากลที่มีการตื่นตัวและตระหนักในการให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.)ได้กำหนดจัดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด Safety Home...Safety Society “บ้านปลอดภัย...สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสสังคมด้วยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไป และทุกภาคส่วนในสังคม มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว
พม.พร้อมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ได้กำหนดจัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงในภาพรวมทั่วประเทศ ทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและภูมิภาคตลอดปี 2563 เพื่อสร้างกระแสสังคมได้ตระหนักต่อประเด็นปัญหาความรุนแรงที่มีต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว และกระตุ้นให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันให้สมาชิกในครอบครัวรู้เท่าทันอบายมุขที่เข้ามาสู่ครอบครัวในหลากหลายรูปแบบและหลายช่องทาง ลดการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว สมาชิกในบ้านไม่กระทำความรุนแรงต่อกันทั้งทางร่างกาย วาจา และจิตใจ ส่งผลให้ครอบครัวเกิดความร่มเย็น และสังคมเกิดความสงบสุข
วันเดียวกัน ที่บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ตัวแทนจากเครือข่ายสตรี 4 ภาค มูลนิธิพิทักษ์สตรี มูลนิธิเพื่อนหญิงและมูลนิธิชุมชนไท ร่วมกันเดินรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว เนื่องในวันหยุดความรุนแรงต่อสตรีสากลซึ่งตรงกับวันที่ 25 พ.ย.ของทุกปี จากกระทรวงศึกษาธิการไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือต่อนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นางสาวพัชรี ไหมสุข หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง เรียกร้องขอให้รัฐบาลมีมาตรการคุ้มครองเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง หลังพบสถิติหญิงไทยถูกกระทำด้วยความรุนแรง ทุบตี ทำร้าย คุกคาม ละเมิด และแสวงหาประโยชน์ทางเพศ จากการเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล แจ้งความร้องทุกข์ ดำเนินคดี เฉลี่ยปีละ 30,000 คนต่อปีในจำนวนนี้เสียชีวิตมากถึง 1,825 คน ส่งผลกระทบต่อร่างกายจิตใจและความพิการ แต่ยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่แจ้งความร้องทุกข์ เพราะอับอาย ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และไม่รู้กฎหมาย โดยเฉพาะชุมชนชนบท ทั้งนี้ เครือข่ายฯ ยื่นข้อเสนอ 8 ข้อ ต่อรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหา ดังนี้
ทั้งนี้ นายจุติ รับข้อเสนอ เพื่อนำไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไข โดยจะทำงานร่วมกันกับเครือข่ายฯ เพื่อให้เกิดการคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิของเด็ก และผู้หญิงให้ครอบคลุมมากขึ้น ที่ผ่านมาได้ดำนินการมาตลอด เพียงแต่ขาดการประชาสัมพันธ์
https://news.thaipbs.or.th/content/286232
19 ก.ค. 65 / อ่าน 760
17 ก.ค. 65 / อ่าน 885
12 ก.ค. 65 / อ่าน 900
12 ก.ค. 65 / อ่าน 641
12 ก.ค. 65 / อ่าน 613