• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • Clip Video
  • สื่อรณรงค์
  • รวมลิงค์
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์
  • Clip Video
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

วัยทำงาน เสี่ยง 'ลงพุง-ซึมเศร้า'

หมวดหมู่ สุขปลอดเหล้า, วันที่ 19 กรกฎาคม 62 / อ่าน : 430


กรมอนามัยเผยวัยทำงานไทย 15 ล้านคน เสี่ยงเป็นโรคอ้วนลงพุง ซึมเศร้า ความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจ พบเสี่ยงฆ่าตัวตายมากที่สุด แนะบริษัท-องค์กร สร้างแรงจูงใจเปลี่ยนพฤติกรรม 

นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงสภาพปัญหาว่า ปัจจุบันมีวัยทำงานราว 15 ล้านคน อยู่ในระบบประกันสังคม และส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำให้หลายคนเกิดภาวะความเครียดสะสม กระทบต่อสุขภาพร่างกาย และทำให้เกิดโรคอ้วน เพราะขาดการออกกำลังกาย และการกินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เป็นโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เกิดจากพฤติกรรม การใช้ชีวิต

โดยพบว่าเป็นโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งระบบสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะในผู้หญิง และโรคจากการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง หลอดเลือดสมองตีบ และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า อ้วนลงพุง และโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง พบคนวัยทำงาน มีแนวโน้มเป็นโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ส่วนโรคเครียดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า และวัยทำงานเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด โดยทั้งหมดทำให้เกิดภาระ และสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก

นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ผลกระทบจากพฤติกรรมสุขภาพของวัยทำงานเป็นปัญหาที่ไม่ควรละเลย เพราะเป็นกลุ่มวัยสำคัญ ในการช่วยขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้พบคนวัยทำงานทั่วโลก อายุตั้งแต่ 20 กว่าปีขึ้นไป นอกจากเสี่ยงป่วยเป็นโรคแล้ว ยังเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ทำให้จิตใจมีสภาพหดหู่ เกิดภาวะวิตกกังวล และนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้

ดังนั้น บริษัท องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ควรส่งเสริมให้พนักงานหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสร้างแรงจูงใจ ด้วยการส่งเสริมการออกกำลังกาย การบริหารจัดการอารมณ์ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควบคู่กับการลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคได้ หากสุขภาพกายดีจะส่งผลให้มีสุขภาพใจที่ดีเช่นกัน ส่วนโรคซึมเศร้ามีแนวโน้ม จะนำไปสู่ความเสี่ยงฆ่าตัวตายหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,กรมสุขภาพจิต,คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาพ :iStock

 

สนุกดอทคอม



เรื่องอื่นๆ


7อาหาร...ทานแล้วต้านหวัด
7อาหาร...ทานแล้วต้านหวัด

9 ธ.ค. 62 / อ่าน 73

ฮีโร่ในใจเสมอ สู้ 15 ปีเพื่อลูก หักดิบจนเป็นลม ด่วนจากเหตุพิษสะสม 30 ปี
ฮีโร่ในใจเสมอ สู้ 15 ปีเพื่อลูก หักดิบจนเป็นลม ด่วนจากเหตุพิษสะสม 30 ปี

8 ธ.ค. 62 / อ่าน 79

รู้หรือไม่ ดื่มเหล้าแก้หนาว เป็นความเชื่อที่ผิด
รู้หรือไม่ ดื่มเหล้าแก้หนาว เป็นความเชื่อที่ผิด

3 ธ.ค. 62 / อ่าน 201

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

2 ธ.ค. 62 / อ่าน 107

คนไทยเสี่ยง 'มะเร็งตับ' จากการดื่มเหล้า-เป็นโรคอ้วน
คนไทยเสี่ยง 'มะเร็งตับ' จากการดื่มเหล้า-เป็นโรคอ้วน

28 พ.ย. 62 / อ่าน 138

6 สิ่งที่ควรทำก่อนนอน รับรองนอนหลับสบายได้อย่างเปี่ยมสุข
6 สิ่งที่ควรทำก่อนนอน รับรองนอนหลับสบายได้อย่างเปี่ยมสุข

27 พ.ย. 62 / อ่าน 143

ดูสุขปลอดเหล้าทั้งหมด


ค่าใช้จ่ายที่คุณดื่มใน 1 สัปดาห์

(บาท)
  • หลังจาก 1 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 6 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 1 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 5 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.

หมวดข่าว

  • ข่าวรอบสัปดาห์
  • ข่าวภัยจากน้ำเมา
  • ข่าวรณรงค์
  • ข่าวงดเหล้าทั่วไทย
  • ข่าวต่างประเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • สุขปลอดเหล้า
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

เครือข่าย

  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันออก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคกลาง
  • กรุงเทพมหานคร
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันตก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง

Links

  • เกี่ยวกับ stopdrink.com
  • ปรึกษาการเลิกเหล้า 1413
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์/ดาวน์โหลด
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

Game

stopdrink.com game othello

stopdrink.com game racing

stopdrink.com game bowling

stopdrink.com game takemehome


สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)
110/287-288 ม.6 ซอยโพธิ์แก้ว แยก 4 ถ.โพธิ์แก้ว แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
โทร 02 948 3300 , Fax สคล. 02 948 3930, Fax สปอนเซอร์ชิป 02 948 3302
eXTReMe Tracker