-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
กลุ่มเยาวชนแต่งผีวันฮาโลวีน ปลุกสติ "ดื่มแล้วขับ" ถึงขั้นดับชีวิต รณรงค์ "หยุดผีดื่มแล้วขับ" หวังสร้างจิตสำนึกใช้รถใช้ถนนลดอุบัติเหตุ ด้าน “มูลนิธิเมาไม่ขับ” แนะจับตาสถานบันเทิงคืนปล่อยผี ชง สตช. ลงโทษขั้นสูงสุด หากปล่อยเด็กต่ำกว่า 20 ปีเข้าร้าน จี้จัดการคนขายเหล้าให้เด็ก
(31 ต.ค.) ที่เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต ทีมเฉพาะกิจเธียเตอร์ จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันฮาโลวีน 2018 ภายใต้แนวคิด Halloween Party #หยุดผีดื่มแล้วขับ โดยกลุ่มเยาวชนกว่า 100 คน ได้ร่วมกันแต่งกายแฟนซีเป็นภูตผีปีศาจ เพื่อสะท้อนปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนจากคนเมาแล้วขับ สร้างจิตสำนึกการใช้รถใช้ถนนเพื่อลดอุบัติเหตุ ตลอดจนจัดบูธกิจกรรมและการแสดงบนเวทีที่น่าสนใจโดยฝีมือเยาวชน
น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส. กล่าวว่า ที่ผ่านมา สสส. ได้สนับสนุนกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากดื่มแล้วขับ ด้วยการทำกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการสนับสนุนงานวิชาการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและสังคม เช่นเดียวกับกิจกรรมครั้งนี้ที่เปิดเวทีสร้างสรรค์ให้เยาวชนแสดงออก สนุกได้แบบไร้แอลกอฮอล์ สร้างจิตสำนึกการใช้รถใช้ถนนให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่ใช่แค่เฉพาะเทศกาลปีใหม่หรือสงกรานต์ เพราะการดื่มฉลองของคนไทยมีทุกวัน โดยบางครั้งถูกกระตุ้นจากโปรโมชั่นร้านค้าหรือสถานประกอบการ หลายครั้งที่ความสนุกสนานมาพร้อมกับความมึนเมา นำพานักดื่มไปสู่ความประมาท กระทั่งทำให้ผู้ร่วมทางคนอื่นกลายเป็นเหยื่อ บาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต อย่างเช่นกรณีคนเมาแล้วขับชนกู้ภัยและตำรวจในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย เหตุเกิดที่จังหวัดตรัง และกรณีคนเมาแล้วขับชนพนักงานกวาดถนนเขตสายไหมจนเสียชีวิต
"อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดจากการดื่มแล้วขับสร้างความสูญเสียมหาศาล จากรายงานสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ในปี 2559 มีสูงถึง 21,745 ราย ผู้ประสบอุบัติเหตุส่วนใหญ่อยู่ในวัย 15-24 ปี ขณะที่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตในช่วงเทศกาล เกิดจากการดื่มแล้วขับ ทั้งนี้ จากการศึกษาตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ที่เกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2561 พบว่า กว่า 56% มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่ากฎหมายกำหนด” น.ส.รุ่งอรุณ กล่าว
นายสุรสิทธิ์ ศิลปงาม ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า ปัญหาดื่มแล้วขับเป็นปัญหาระดับประเทศ ธุรกิจการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พยายามปรับกลยุทธ์ส่งเสริมการขาย ทั้งเรื่องราคา และช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งล่าสุดมีบริการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบส่งตรงถึงบ้าน โดยสั่งสื่อผ่านระบบออนไลน์หรือทางโทรศัพท์ โดยซื้อขายกันเวลาใดก็ได้ และตรวจสอบอายุผู้ซื้อได้ยาก
“ขณะนี้สังคมมีความตื่นตัวในการช่วยกดดันโทษเมาแล้วขับมากขึ้น แต่ที่ต้องเพิ่มเติมคือการรณรงค์เผยแพร่พิษภัยของแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งในบางประเทศมีโทษหนักกว่าประเทศไทย เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นตำรวจจะสืบสวนสอบสวนหาความเชื่อมโยงว่าผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็ก และดำเนินการตามกฎหมายด้วยโทษสูงสุด ถึงขั้นปิดสถานบันเทิง ดังนั้นในบ้านเราควรเริ่มจากวันฮาโลวีนนี้ เพราะเป็นวันที่เยาวชนจะออกไปเที่ยวสังสรรค์ตามผับบาร์ ทางภาคีเครือข่ายจึงขอสนับสนุนให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติประกาศนโยบายไปยังสถานีตำรวจทั่วประเทศ ให้เข้มงวดตรวจตราสถานบันเทิง ห้ามปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าใช้บริการ” นายสุรสิทธิ์ กล่าว
น.ส.วิกานดา ผิวกระด้าง หรือ น้องอาร์ม ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ตนเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มแล้วขับ จนต้องกลายเป็นอัมพาต หลังจากนั้นต้องทนทุกข์เก็บตัวเองนานถึง 2 ปี เพราะทำใจไม่ได้ ไม่กล้าออกมาเผชิญกับสังคม กระทั่งตอนนี้ได้กำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง จึงหันมาทำงานจิตอาสาร่วมกับภาคีเครือข่ายที่จัดงานนี้ ด้วยความตั้งใจจะช่วยเหลือดูแลผู้ที่ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่หากเป็นไปได้ตนไม่อยากให้มีใครได้รับความสูญเสียจากความประมาทของคนเมาแล้วขับอีกเลยแม้แต่รายเดียว
อ่านต่อที่ เดลินิวส์ออนไลน์, ผู้จัดการออนไลน์, สยามบิสซิเนส นิวส์
19 ก.ค. 65 / อ่าน 1389
17 ก.ค. 65 / อ่าน 1720
12 ก.ค. 65 / อ่าน 1498
12 ก.ค. 65 / อ่าน 906
12 ก.ค. 65 / อ่าน 857