-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
สสส.ผนึกภาคี รณรงค์ต้านพฤติกรรม "ดื่มแล้วขับ" เปิดข้อมูลใบมรณบัตร คนไทยเสียชีวิตบทท้องถนน1.5 หมื่นคนต่อปี พบ1ใน4มีแอลกอฮอล์เข้าไปเกี่ยวข้อง วงเสวนา โศกนาฏกรรมดื่มแล้วขับ ชี้เหยื่อคนเมาขับพุ่ง น่าห่วงเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เจ็บเข้ารับรักษาใน รพ. วันละ 239 ราย โดยมีแอลกอฮอล์ มาเกี่ยวข้อง จี้เพิ่มด่านจับขยับโทษไม่รอลงอาญา
เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต ร่วมกับ เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) จัดเวทีเสวนาหัวข้อ “โศกนาฏกรรมดื่มแล้วขับ ถอดบทเรียนสองฝ่าย (ผู้ก่อเหตุ–ผู้สูญเสีย)...ปัญหาและทางออก" ในงานมีการเดินรณรงค์และแจกสื่อประชาสัมพันธ์ ต่อต้านพฤติกรรมดื่มแล้วขับบริเวณป้ายรถเมล์อนุสาวรีย์ฯ
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลใบมรณบัตรและหนังสือรับรองการตาย ที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนนมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หรือประมาณ 15,000 รายต่อปี ในจำนวนนี้ 1ใน 4 หรือ 25% มีแอลกอฮอล์เข้าไปเกี่ยวข้อง ขณะที่ยอดการเสียชีวิตบนท้องถนนเฉลี่ย 40 รายต่อวัน โดย 1 ใน 4 มีแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่เป็นเหยื่อถูกคนเมาขับรถชน ทั้งยังมีผู้พิการเป็นเหยื่อจากคนเมาแล้วขับอีกไม่น้อย เป็นความสูญเสียของครอบครัวอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ข่าวที่เก็บรวบรวมในรอบ 3 ปี พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่กู้ชีพต้องกลายเป็นเหยื่อเมาแล้วขับ 49 ราย ขณะที่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา สาเหตุเมาแล้วขับเพิ่มมากขึ้นจากเดิม 34% เป็น 43% เสียชีวิต 32% จากเดิม 17% ที่น่าห่วงคือ มีเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี บาดเจ็บเข้ารับการรักษา 1,674 ราย หรือวันละ 239 ราย ชี้ให้เห็นว่า แอลกอฮอล์ยังเป็นปัจจัยร่วมทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี บาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งที่มี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งห้ามขายให้เด็กต่ำกว่า 20 ปี
นพ.ธนะพงศ์ กล่าวว่า ปัจจัยที่ยังมีคนเมาแล้วขับ มาจากมาตรการตรวจจับยังมีข้อจำกัดทั้งการตั้งด่านและอุปกรณ์ตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่มีน้อย ขณะที่ผู้ขับขี่อาศัยเครื่องมือสื่อสารส่งข้อมูลรับรู้การตั้งด่านทำให้หลีกเลี่ยงได้ รวมถึงการดำเนินคดียังมีจุดอ่อนที่ระบุโทษเป็นเรื่องความประมาททำให้โทษจำคุกแค่รอลงอาญา และกรณีตรวจจับพบกระทำผิดอีกก็ไม่มีการนำความผิดเก่ามารวมเป็นการกระทำผิดซ้ำอีกทั้งทัศนคติคนไทยซึ่งพบถึง 1 ใน 5 ของคนขับรถบนท้องถนนมองการดื่มแล้วขับเป็นเรื่องปกติ จึงอยากเสนอมาตรการการตรวจจับให้มีการตั้งด่านพร้อมมีอุปกรณ์ตรวจวัดเพิ่มขึ้น เพิ่มบทลงโทษที่รุนแรงเป็นการขับขี่ที่อันตรายไม่ใช่ความประมาทโดยไม่ต้องรอลงอาญา และสร้างความตระหนักทางสังคมให้มากขึ้น
นายวิชาญ นายสอง อายุ 59 ปี ชาวจังหวัดเพชรบุรี อาชีพรับเหมาก่อสร้าง กล่าวถึงบทเรียนชีวิตที่เคยก่อเหตุดื่มแล้วขับ ว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ 7 ปีที่แล้วโดยตนเองดื่มสุราแล้วขับรถชน ด.ต.อนุศักดิ์ ขมิ้นทอง ผู้บังคับการหมู่ สถานีตำรวจทางหลวง 1 กองกำกับการ 1 ขณะปฏิบัติหน้าที่จนบาดเจ็บขาซ้ายขาด กระทั่งถูกตำรวจดำเนินคดีข้อหา เมาแล้วขับและขับรถโดยประมาท จำคุก 2 ปี รอลงอาญา ปรับหมื่นกว่าบาท และได้เสียค่ารักษาพยาบาลพร้อมชดเชยค่าเสียหายรวมแล้วกว่า 2 ล้านบาท รู้สึกผิดและเสียใจมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่คิดว่าการดื่มแล้วขับจะส่งผลกระทบกับคนอื่นและครอบครัวรุนแรงขนาดนี้ ลูกเขาก็ยังเรียน ลูกผม 2 คน ก็ยังเรียน เงินทองที่มีต้องหมดไป หนี้สินภาระต้องเพิ่มขึ้น ต้องกู้เงินนอกระบบ เป็นช่วงที่ลำบากและขัดสนที่สุดในชีวิต หากย้อนเวลากลับไปได้จะไม่ดื่มแล้วขับเด็ดขาด
ขณะที่ ด.ต.อนุศักดิ์ ขมิ้นทอง ผู้บังคับการหมู่ สถานีตำรวจทางหลวง 1 กองกำกับการ 1 ในฐานะเหยื่อผู้สูญเสีย พิการขาซ้ายขาดจากคนดื่มแล้วขับ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุการณ์ขึ้น ชีวิตเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องถูกตัดขาซ้ายใส่ขาเทียม ส่วนขาขวาใช้เหล็กดามไว้ ส่วนภรรยาต้องออกไปค้าขายเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว ซึ่งตนยังโชคดีที่หน่วยงานในสังกัดให้โอกาสได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิม แม้ไม่ได้ไปอยู่ฝ่ายจราจร แต่จะมีหน้าที่ดูแลงานด้านเอกสารต่างๆ แต่ก็มีอุปสรรคเพราะเคลื่อนไหวช้า.
อ่านต่อที่ โพสต์ทูเดย์ออนไลน์, มติชนออนไลน์, ไทยรัฐออนไลน์
19 ก.ค. 65 / อ่าน 1398
17 ก.ค. 65 / อ่าน 1731
12 ก.ค. 65 / อ่าน 1512
12 ก.ค. 65 / อ่าน 917
12 ก.ค. 65 / อ่าน 868